"จับเรียกค่าไถ่ได้" หากสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้านเข้ามากินพืชที่เราปลูก เราก็สามารถจับสัตว์ตัวนั้นแล้วขอให้เพื่อนบ้านชดใช้ค่าเสียหายได้

Feb 22, 2025
คู่มือสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง
"จับเรียกค่าไถ่ได้" หากสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้านเข้ามากินพืชที่เราปลูก เราก็สามารถจับสัตว์ตัวนั้นแล้วขอให้เพื่อนบ้านชดใช้ค่าเสียหายได้


จากกรณีป้าหน่อง (สงวนชื่อและนามสกุล) อายุ 59 ปี ชาวบ้านอ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จับ “ควาย” มาค้ำประกันให้เพื่อนบ้านได้ 3 วัน หลังควายเข้าสวนของเพื่อนบ้านแล้วกินต้นกล้วยเกือบหมด ทำให้ตำรวจต้องเข้าไกล่เกลี่ยเจรจาปล่อยควาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อหาลักทรัพย์ ตามที่รายงานข่าวไปก่อนหน้านี้


ล่าสุด วันที่ 20 ก.พ. 68 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีเพจเฟซบุ๊ก “ทนายเกิดผล แก้วเกิด” โพสต์คำแนะนำทางกฎหมายเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า “กรณีที่เราเป็นเจ้าของที่ดินปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกผักหรือเลี้ยงไก่ แล้วสัตว์ของเพื่อนบ้าน เช่น วัวหรือควาย เข้ามากินพืชที่เราปลูก เช่น ผัก ข้าว หรือต้นไม้ หรือกินอาหารไก่หรือหมูของเรา”


อีกทั้ง “มีหมาของเพื่อนบ้านเข้ามากัดไก่ หรือหมูของเราตาย หรือพืชผักเราเสียหาย หากเรามาพบเห็นสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้าน ในขณะที่เข้ามาทำลายพืช หรือกัดสัตว์เลี้ยงของเรา เราในฐานะเจ้าของที่ดินที่ได้รับความเสียหาย สามารถจับสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้านไว้ เพื่อให้เพื่อนบ้านนำเงินมาจ่ายค่าเสียหาย แลกกับการปล่อยสัตว์ของเขาได้ รวมทั้งสามารถฆ่ามันได้ ถ้าจำเป็น เช่นหมาดุจะกัดเราด้วย โดยไม่มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เพราะมีกฎหมายให้อำนาจเราไว้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 452 ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทน อันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์ แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้ วรรคสอง แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ”


Source “ทนายเกิดผล แก้วเกิด”

by Prasobsook Saisud - Founder Lazadog.com


โพสต์ล่าสุด